น้ำมันมะพร้าว & น้ำมะพร้าว กินอย่างไรให้ได้สุขภาพ


น้ำมันมะพร้าว & น้ำมะพร้าว กินอย่างไรให้ได้สุขภาพ
ในฐานะอาหารเสริมสุขภาพ ยังอินเทรนด์อยู่ในกระแสเสมอ มีทั้งเสียงที่เทคะแนนให้ และเสียงที่บอกว่าให้ยับยั้งชั่งใจกันก่อนกินเสียหน่อยน้องใหม่ที่มาแรงตามกันมาติดๆ อย่างน้ำมะพร้าวก็กลายเป็นเครื่องดื่มที่คนรักสุขภาพหันมาสนใจกันมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้จึงชวนคุณผู้อ่านมาตั้งคำถามไปพร้อมๆ กันว่า จะกินน้ำมันมะพร้าว และน้ำมะพร้าวอย่างไรให้ได้สุขภาพ 

น้ำมันมะพร้าวในน้ำมันมะพร้าวช่วยขจัดคราบพลัคและเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยให้ปากสะอาด  

วิธีใช้ อมบ้วนปากครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 1 ครั้ง 

ข้อควรระวัง ควรเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


กรดไขมันสายปานกลางในน้ำมันมะพร้าวจะไปเพิ่มปริมาณของแบคทีเรียดีในลำไส้ มีผลช่วยเรื่องการขับถ่ายให้ดีขึ้นวิธีใช้ กินในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณบริโภคเมื่อรวมกับน้ำมันและไขมันในอาหารชนิดอื่นๆแล้ว ไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ (ตามคำแนะนำเพื่อสุขภาพที่ดีว่า ร่างกายควรได้รับน้ำมันและไขมันจากอาหารต่างๆไม่เกินวันละ 60 กรัม) ตัวอย่างเช่น หากใน 1 วัน ได้รับน้ำมันและไขมันจากอาหารชนิดต่างๆ 2 ช้อนโต๊ะ จะสามารถบริโภคน้ำมันมะพร้าวได้อีก 2 ช้อนโต๊ะ 

ข้อควรระวัง ควรเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


สองประการที่กล่าวมาเป็นประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวที่ ดร. เอกราช เกตวัลห์ จาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีข้อชวนคิดเรื่องน้ำมันมะพร้าวที่กำลังอยู่ในกระแสสุขภาพ ซึ่งหลายคนยังตั้งคำถาม


ชีวจิตมือโปร: ชวนรู้จักไขมันไขมัน (lipid) คือ สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายนํ้า ไขมันธรรมดา (Simple Lipid) ประกอบด้วย กลีเซอรอล กับกรดไขมัน และสิ่งที่ทำให้ไขมันและนํ้ามันมีหลายชนิดและมีสมบัติทางเคมีและทางกายภาพแตกต่างกัน คือ กรดไขมันต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ 

กรดไขมันแบ่งเป็นชนิดต่างๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ได้หลายอย่าง ได้แก่ - แบ่งตามระดับความอิ่มตัว เป็นกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว - แบ่งตามความต้องการทางโภชนาการ แบ่งเป็น กรดไขมันจำเป็น และกรดไขมันไม่จำเป็น- แบ่งตามความยาวของสายโมเลกุล แบ่งเป็น กรดไขมันสายสั้น และกรดไขมันโมเลกุลสายปานกลาง (shot and medium chain fatty acids) พบมากในไขมันจากพืช และกรดไขมันโมเลกุลสายยาว (long chain fatty acid) พบมากในไขมันจากสัตว์ 

น้ำมันมะพร้าว VS ระบบย่อยและเผาผลาญอาหารหลายปีที่ผ่านมานี้ น้ำมันมะพร้าวถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้ามาจุดประกายความหวังของสาวตุ้ยนุ้ย เพราะเชื่อกันว่าช่วยเรื่องการย่อยอาหาร และกระตุ้นการเผาผลาญ จึงช่วยลดความอ้วนได้ แต่ด้วยการเป็นตัวเต็งอันดับต้นๆ ในบรรดาน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูงที่ทำให้เป็นโรคอ้วน สาวน้อยสาวใหญ่จึงยังลังเลสงสัย อาจารย์เอกราชเล่าว่า

“ตัวน้ำมันมะพร้าวเองนั้นเป็นไขมันมีกรดไขมันสายปานกลางจึงย่อยได้ง่าย โดยสามารถถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ และ ดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังมีข้อดีที่เผาผลาญเป็นพลังงานได้เร็ว จึงเกิดการสะสมของกรดไขมันได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีโมเลกุลสายยาว “นั่นหมายความว่า ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม โดยเมื่อรวมกับน้ำมันและไขมันในอาหารชนิดอื่นๆ ต้องไม่เกิน วันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ เท่านั้น ส่วนการที่น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายปานกลาง สามารถช่วยในการเผาผลาญพลังงาน อาจารย์เอกราชให้ข้อมูลว่า

“ดังที่กล่าวแล้วว่าตัวของน้ำมันมะพร้าวเผาผลาญตัวเองได้ดี แต่มีผลต่อการกระตุ้นการเผาผลาญสารอาหารอื่นๆ น้อยมาก” 

สุดท้ายอาจารย์เอกราชเน้นย้ำถึงการกินอาหารที่ถูกต้องว่า “การโหมกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไม่สามารถต้านโรคใดโรคหนึ่งได้ เพราะการดูแลสุขภาพต้องดูแลแบบองค์รวม คือ การกินอาหารที่ถูกต้อง หลากหลาย เพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารอาหารครบครัน และป้องกันการสะสมของสารอาหารบางอย่างที่อาจเป็นโทษในภายหลังได้ ทั้งนี้ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และมีอารมณ์จิตใจที่แจ่มใส”

อาหารดีมีประโยชน์แค่ไหน ก็ต้องรู้จักกินอย่างฉลาด และยึดหลักทางสายกลางเอาไว้นะคะ 

ติดตามอ่านเนื้อหาทั้งหมดได้ในนิตยสาร ชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2555

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขั้นตอนการบวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมะที่วัดสังฆทาน และการลาสิกขา

8 ลักษณะเด่นของผู้หญิงที่กำราบ 'ผู้ชายเจ้าชู้' ได้อยู่หมัด!!

วิธีลดไขมันรอบเอว ไขมันส่วนเกิน