Money Wise...ใช้จ่ายด้วยสมอง

สงสัยจัง... เงินหายไปไหน
             หลายคนคงเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนุ่มสาววัยทำงานที่
   หลังเงินเดือน ออกแค่ไม่กี่วัน แต่เงินในบัญชีกลับหายเกลี้ยงไปซะเฉยๆ พยายามนึกเท่าไร
   ก็นึกไม่ออกว่าเงินหายไปไหน สุดท้ายที่พอจะทำได้ คือ หยิบเครื่องคิดเลขออกมาบวกลบ
   คูณหารดูว่าเงินที่เหลืออยู่จะพอใช้้จนถึงสิ้นเดือนหรือไม่!!!

             ไม่ว่าคุณจะมีเงินเดือนหลักหมื่นหรือเรือนแสน แต่หากขาดการวางแผนจัดการ
   เงินทองที่ดี เงินเดือนก็จะเป็นแค่ตัวเลขที่ผ่านมาทักทายบัญชีเงินฝาก แล้วก็จากไป
   ไม่ร่ำลากัน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างนี้ทุกเดือน ถึงเวลาที่จะรื้อ ปรับ ขยับวิถีชีวิตแบบเดิมๆ   
   พร้อมเริ่มต้นวางแผนใช้จ่ายเงินกันแล้ว

             อันดับแรก... คุณต้องสะกดรอยตามเงินให้เจอก่อน และทางเดียวในโลกนี้ที่้
   จะช่วยใหคุณรู้ว่าเงินตั้งมากมายหายไปไหน แถมยังช่วยแก้อาการชักหน้าไม่ถึงหลังของคุณ
   ได้เป็นอย่างดีีก็คือ รู้จักใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของการใช้จ่ายเงิน และ “จดบันทึก
   รายรับรายจ่าย” อย่างสม่ำเสมอ แต่พอพูดถึงการจดบันทึกรายรับรายจ่าย หลายคนอาจ
   บอกว่าน่าเบื่อหน่ายที่สุดในโลก บ้างก็ว่าไม่จำเป็น ละเอียดถี่ยิบเกินไป แถมบางคน
   มองว่าเป็นการสร้างความยุ่งยากให้ชีวิตเข้าไปอีก

             หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าการจด “สิ่งที่คุณซื้อ” เป็นงานยากเกินกว่าที่คุณจะรับไหว นั่นถือเป็นการยอมรับ
   เป็นนัยๆ ว่า...
 คุณควักเงินออกจากกระเป๋าบ่อยมากจนจดไม่ทัน 

             แต่หากคุณมั่นใจว่าคุณใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ไปมีเหตุุมีผลทั้งนั้น ก็มาลองดูกันสักตั้ง
   จะเป็นไรไป... วิธีการก็ง่ายแสนง่าย แค่พกสมุดโน้ตเล่มเล็กๆ กับปากกาติดกระเป๋าไว้ แล้วควักออกมาจด จด จด ทุกครั้งที่
   ได้รับเงินมาหรือใช้เงินไป ไม่ว่าเงินก้อนนั้นจะเล็กน้อย (ในสายตาคุณ) ขนาดไหนก็ตาม
             เมื่อมีสมุดกับปากกาแล้ว... เริ่มด้วยการจดตัวเลขรายได้ที่ได้มาในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือเดือนลงไป ทั้งเงินเดือน
   ค่าเช่า ค่านายหน้า โบนัส จ๊อบพิเศษ รวมถึงรายได้ที่เป็นรายการพิเศษต่างๆ อย่างเงินคืนภาษี เงินคืนจากประกันชีวิต
   หรือเช็คของขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ
             คราวนี้ลองมาดูฝั่งค่าใช้จ่ายกันบ้าง หากสังเกตดีๆ คุณจะพบว่าค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่าย
   เพื่อการออมและการลงทุน ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร
             “ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน” คือ ค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ต้องกันไว้ทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็น
   การจ่ายเพื่อตัวเองในการเดินตามความฝันหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น เงินออมเพื่อดาวน์รถ ดาว์บ้าน ท่องเที่ยว แต่งงาน
   ค่าเล่าเรียนลูก หรือเงินออมเพื่อเกษียณอายุ ฯลฯ ที่สำคัญ... อย่าลืมแยกบัญชีเงินออมและลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายส่วนตัว
   เพื่อป้องกันความสับสนและเผลอถอนเงินออมออกมาใช้
             “ค่าใช้จ่ายคงที่” คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนทุกเดือน เช่น ค่าผ่อน (เช่า) บ้าน ค่าผ่อนรถ
   ค่าเบี้ยประกัน ค่าผ่อนสินค้า หรือเงินกู้ต่างๆ ฯลฯ 


             “ค่าใช้จ่ายผันแปร” คือ ค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน มีบ้าง ไม่มีบ้าง ไม่แน่นอน ยืดหยุ่นไปตาม
   กิจกรรม ที่ทำในเดือนนั้นๆ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการดำรงชีวิตของแต่ละคน เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ
   ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่ารักพยาบาล บันเทิงเริงใจ เงินทำบุญ ฯลฯ
             หลังจาก จด จด จด สะกดรอยตามเงินครบ 4 สัปดาห์ ลองบวกลบคูณหารค่าใช้จ่ายทั้งหมดในเดือนนั้น แล้วเอา
   สมุดโน้ตมากางดู คุณจะเห็น “รูรั่ว” ของกระเป๋าสตางค์อย่างชัดเจน
             ทีนี้แหละ... ดวงตาที่เคยมืดมนก็เริ่มเห็นแสงสว่างขึ้นมาทันใด เมื่อสมุดเล่มเล็กๆ ราคาไม่กี่บาท กลับกลายเป็น
   “สมุดสติ” ที่ช่วยเตือนให้คุณเห็นถึงภัยร้ายจากค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ วันละ 100 200 หรือ 300 ที่ทุกวันรวมกันก็เป็นพัน
   เป็นหมื่นได้
             ตอนนี้รู้แล้วสินะว่าเงินของคุณหายไปไหน รู้ลางๆ แล้วใช่ไหมว่าทำไมเงินถึงไม่เคยพอใช้ หรือเพราะเหตุใดคุณถึงได้
  จนไส้แห้งทุกครั้งก่อนสิ้นเดือน เฮ้อ!!! ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะ “คุณ” นั่นแหละที่เจาะกระเป๋าตัวเอง
             เอาเป็นว่า... เมื่อมีเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป ยังพอมีหนทางแก้ไขสถานการณ์ได้
   ทางแรกคือ “หั่นรายจ่าย” อีกทางคือ “เพิ่มรายได้” แต่คุณเชื่อหรือไม่... ร้อยทั้งร้อยเลือกที่จะหั่นรายจ่ายเพราะดูเหมือน
   จะง่ายกว่าหาทางเพิ่มรายได้หลายเท่า เพียงแค่นั่งวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทั้งหมด คุณก็พอจะรู้ว่าส่วนเกินตรงไหนที่สามารถตัดทิ้ง
   ได้บ้าง แต่การหารายได้เพิ่มนี่สิ ยากสิ้นดี
             การหั่นรายจ่ายที่ง่ายที่สุด คือ “การหั่นรายจ่ายผันแปรที่ไม่จำเป็นต่างๆ” อย่างค่าโทรศัพท์มือถือ ซื้อของฟุ่มเฟือย
   ลดการเที่ยวเตร่ ดูหนังฟังเพลง หรือทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง ฯลฯ ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มักจะตัดออกไม่ค่อยได้
   ทำได้แค่ลดปริมาณการใช้ลง และเอาบิลไปจ่ายให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันค่าปรับจากการชำระล่าช้าเท่านั้น

             แต่ใครอยากท้าทายกว่านั้น ลองพิจารณาลดค่าใช้จ่ายคงที่ เพราะแม้จะทำได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ซะหน่อย
   ยกตัวอย่างเช่น การรีไฟแนนซ์เพื่อให้ภาระดอกเบี้ยลดลง หรือบางครั้งอาจต้องแลกกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่
   ของคุณ เช่น หาบ้านใหม่ที่ค่าเช่าถูกลง หรือขายรถแล้วหันมาใช้บริการรถสาธารณะแทน
             หากคุณ “เขียม” สุดๆ แล้ว เงินก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี ก็อาจถึงเวลาที่คุณต้องมองหางานที่ให้ค่าตอบแทนสอดคล้อง
   กับรายจ่ายของคุณหรือหางานพิเศษทำ
             เชื่อเถอะว่า... การจดบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้คุณเห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เป็นต้นเหตุ
   ของปัญหา ในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือเดือนที่ผ่านมาแล้ว ยังช่วยให้คุณปรับวิธีใช้จ่ายเงินและควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่าง
   มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายน้อยลง คุณก็จะมีเงินเหลือออมมากขึ้น
             นอกจากนี้ ยังทำให้คุณสามารถวางแผนใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้นด้วย เช่น ในแต่ละปี คุณรู้ว่า
   ตอนเดือนตุลาคม คุณต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตปีละ 20,000 บาท ฉะนั้น ก่อนจะถึงช่วงเดือนตุลาคม คุณก็สามารถที่จะทยอย
   สะสมเงินเตรียมไว้ทุกเดือนก่อนได้
             ถ้าเห็นข้อดีของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายแล้ว ก็ควรทำอย่างจริงจังเสียตั้งแต่วันนี้ เพราะการใช้จ่ายเงินทองอย่าง
   “รอบคอบ” และ “ระมัดระวัง” เท่ากับว่าคุณกำลังแง้มประตูไปสู่ “ความมั่งคั่ง” ในอนาคต
   
 
        การใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ยั้งคิด อาจก่อเกิดให้ปัญหาทางการเงินตามมา
แต่ถ้ายึดตาม กฎเหล็ก 5 ประการ คุณจะใช้จ่ายเงินได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น


ตั้งงบก่อนใช้ การทำงบประมาณเป็นเหมือนการ
  บังคับให้คุณ “คิดก่อนซื้อ”


เปรียบเทียบก่อนซื้อ ควรเปรียบเทียบราคา
  สินค้าก่อนซื้อ ถือคติว่า “ของดี ราคาเหมาะสม”


สรุปใช้สม่ำเสมอ ถึงจะเสียเวลา แต่รับรองว่า
  คุ้มค่าสุดๆ เพราะคุณจะเห็นพฤติกรรมการใช้จ่าย
  ของคุณ


ใช้น้อยกว่าหาได้ ฟังดูง่ายๆ แต่ใช่ว่าทุกคน
   จะทำได้ พึงระลึกไว้ว่าคุณควรจะใช้จ่ายให้
   น้อยกว่าเงินที่หาได้เสมอ


ไม่ใช้ก็ไม่ซื้อ อย่าซื้อของเพราะโปรโมชั่นดี
   มีของแถม ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่ หรือเพราะ
   เกรงใจพนักงานขาย

พฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณสอบผ่านกฎเหล็กกี่ประการ?
ถ้าคุณต้องการเป็นเศรษฐี เพราะ “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นเศรษฐี และ “บันทึกรายรับรายจ่าย” ก็เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้
คุณจัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้อย่างจริงจัง
  
ถ้าคุณต้องการรู้จักตัวเองมากขึ้น เพราะ “บันทึกรายรับรายจ่าย” คือ แหล่งข้อมูลที่ดีที่จะบอกเล่าถึงกิจกรรมที่คุณทำ พฤติกรรมที่คุณเป็น
และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น คุณอาจจะอึ้งเมื่อได้รู้นิสัยทางการเงินของตัวเอง
  
ถ้าคุณต้องการตัวช่วยในการสร้างนิสัยทางการเงินที่ด
เพราะ “บันทึกรายรับรายจ่าย” เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ชัดเจนขึ้น
และช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้คุณได
  
ถ้าคุณไม่รู้วิธีจัดการเงิน
เพราะ “บันทึกรายรับรายจ่าย” ช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับการใช้จ่ายและความสามารถในการหาเงิน
ซึ่งจะช่วยใหคุณจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  
ถ้าคุณต้องการมีความสุขทุกวัน เพราะ “กิจกรรมต่างๆ” ในชีวิตเราล้วนเกี่ยวข้องกับเงินแทบทั้งนั้น “บันทึกรายรับรายจ่าย” จะช่วยให้คุณรู้
ที่มาและที่ไปของเงินจากกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งคุณจะสามารถจัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ของตนเองได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และความสุขจากอิสรภาพทางการเงินก็จะเกิดขึ้น
  

วันนี้คุณใช้เงินไปกี่บาท แล้วพรุ่งนี้จะใช้อีกกี่บาท?
        เคยสงสัยบ้างมั้ย... หลังเงินเดือนออกแค่ไม่กี่วัน แต่เงินในบัญชีกลับหายเกลี้ยงไปซะเฉยๆ พยายามนึกเท่าไร
ก็นึกไม่ออกซะที สุดท้ายที่พอจะทำได้ คือ หยิบเครื่องคิดเลขออกมาบวกลบคูณหารดูว่า เงินที่เหลืออยู่จะพอใช้
จนถึงสิ้นเดือนหรือไม่!!!

        หากอยากรู้ว่ากระเป๋าสตางค์เรามีรูรั่วตรงไหน หรือใครเอาเงินของเราไป ทางเดียวที่ทำได้คือ
ต้องจด...จด...จด... สะกดรอยตามมัน ลองจดให้ครบเจ็ดวัน แล้วคุณจะรู้ว่าใครเอาเงินของคุณไป
        อย่าลืม!!! สรุปยอดรวมของ “รายรับ” กับ “รายจ่าย” ในแต่ละเดือน เพื่อช่วยย้ำเตือนว่าคุณบริหารเงิน
เป็นหรือไม่ หมั่นตรวจสอบดู... ได้เงินมากับใช้จ่ายไป ส่วนไหนที่มากกว่ากัน
ได้เงินมากับใช้จ่ายไป คุณมีส่วนไหนมากกว่ากัน?
        เชื่อหรือไม่!!! หาเงินได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญที่ใช้เท่าไหร่ต่างหาก เพราะในแต่ละเดือน เงินจะพอหรือไม่พอ
ขึ้นอยู่กับ “นิสัยใช้เงิน” ของแต่ละคน 



       จากจุดเริ่มต้นเดียวกัน แต่นิสัยใช้เงินต่างกัน ทางเดินชีวิตย่อมต่างกัน

แล้วคุณล่ะ... อยากมีทางเดินชีวิตแบบไหน ล้มละลายหรือเศรษฐีเงินล้าน???
        บ่อยครั้ง... คนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงินยังไม่ตระหนักถึงสถานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือน
เป็นสัญญาณให้ทราบว่า กำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และอนาคตกำลังจะลำบาก ลองสังเกตดูว่าคุณมีอาการ
เหล่านี้หรือไม่ เพราะหลายคนกว่าจะรู้ว่ามีปัญหาทางการเงิน ก็เกือบเอาตัวไม่รอดแล้ว



คุณมีสัญญาณเตือนภัยการใช้เงินเกินตัวบ้างไหม?
        คุณรึเปล่า... ที่ซื้อเสื้อผ้าเพียงเพราะว่ามันกำลังลดราคาอยู่ หนักกว่านั้นคือเสื้อผ้าบางตัวยังถูกเก็บไว้ในตู้อย่างดี
ไม่เคยนำออกมาใส่เลยสักครั้ง หากจะว่ากันไป ก็เหมือนคุณเอาเงินไปเก็บไว้ในตู้เฉยๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
หรือออกดอกออกผลใดๆ ลองพิจารณาคำแนะนำเหล่านี้ เพื่อลดการใช้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นลงกันดีกว่า
ซื้อเท่าที่จำเป็น
   ก่อนควักเงินออกจากกระเป๋า ลองชั่งใจดูสักนิดว่าจำเป็นหรือไม่ หากจำเป็นต้องใช้ค่อยซื้อ ที่สำคัญ...
   อย่าลืมเปรียบเทียบราคา คุณภาพ และโปรโมชั่นต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง


ติดตามการใช้เงินของตัวเอง
   
คุณสามารถติดตามการใช้จ่ายของตัวเองได้จากการเก็บใบเสร็จ ป้ายราคาสินค้า หรือสลิปบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม
   เมื่อเห็นว่ากระเป๋าตุงขึ้นเรื่อยๆ ให้ลองหยิบขึ้นมาดู และสำรวจว่าคุณได้ใช้จ่ายไปมากแค่ไหนแล้ว


ทิ้งบัตรเครดิตไว้ที่บ้าน
   ทุกครั้งที่คุณต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายของตัวเอง คุณควรทิ้งบัตรเครดิตไว้ที่บ้าน เพราะคนเรามักเก็บเงินสด
   ไว้เพียงเล็กน้อย แล้วใช้บัตรเครดิตในการซื้อของ พยายามสร้างนิสัยการใช้จ่ายใหม่ด้วยการใช้เงินสดแทนการ
   รูดปรื๊ดๆ


ไม่ซื้อของตามแรงกระตุ้น
   ทุกครั้งที่ไปซื้อของคุณควรคิดให้ดีก่อนว่าต้องการสินค้านั้นจำนวนเท่าไร อย่าให้แรงกระตุ้นของพนักงานขาย
   ทำให้คุณไขว้เขว เพราะคุณอาจได้สินค้าที่เกินความจำเป็น และเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์ฯลฯ
        เมื่อคุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมและสามารถเก็บออมเงินได้มากขึ้น คุณก็จะมีเงินเหลือ
ไว้สำหรับลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตนเองในอนาคตมากขึ้นเช่นกัน
คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่า... ที่เอาเงินไปเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า?
        “จะทำยังไงดี... เงินเดือนที่ได้มาดูท่าจะไม่พอใช้หนี้ ไหนจะค่ากินค่าอยู่อีก” แบบนี้... ก็ถึงเวลาที่คุณ
ต้องมานั่งรื้อ ปรับ ขยับวิถีชีวิตแบบเดิมๆ พร้อมทบทวนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในแบบของคุณว่ามีอะไรที่พอจะลด
ละเลิกออกไปได้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เงินรั่วไหลออกจากกระเป๋า ลองมาดู “วิธีหั่นรายจ่าย เพิ่มรายได้” ง่ายๆ
ที่คุณอาจมองข้ามไป



        นอกจากเคล็ดลับต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เชื่อว่า... แต่ละคนยังมีเคล็ดลับในการตัด หั่น หรือเฉือนรายจ่าย และ
เพิ่มรายได้อีกหลากหลายรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน ยังไงก็รีบลงมือซะตั้งแต่วันนี้ จะได้มีเงินพอใช้ ไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม


ลองบอกเคล็ดลับการ “เฉือนรายจ่าย” ในแบบของคุณมาสัก 5 วิธี?
        เป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วน๊า!!! ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยล่าช้า หรือค่าปรับจากการไม่จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบัตรเครดิต
ตามกำหนด แต่ไม่ว่าจะเกิดจากการหลงลืม หรือจงใจผิดนัดชำระเงินใดๆ ก็ตาม ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือรูรั่วที่ไม่ควรเกิดขึ้น
ในชีวิตเรา ลองสร้างปฏิทินส่วนตัวขึ้นมาสักใบ เพื่อป้องกันรายจ่ายที่เป็นรูรั่วเหล่านี้ดูดีกว่า...


อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัส
ศุกร์
เสาร์
 1
ค่าผ่อนบ้าน
234
ค่าบัตรเครดิต
56
78910
ค่ามือถือ
11
ค่าเคเบิลทีวี
1213
141516
ค่าไฟฟ้า
17
ค่าน้ำประปา
181920
21
ค่าผ่อนแอร์
22232425
ค่าโทรศัพท์บ้าน
ค่าอินเทอร์เน็ต
2627
282930
ค่าผ่อนรถ
31   

        นอกจากการสร้างปฏิทินส่วนตัวจะช่วยป้องกันรายจ่ายที่ไม่ควรต้องเสียอย่างดอกเบี้ยล่าช้าหรือค่าปรับต่างๆ
ได้แล้ว ยังช่วยให้คุณวางแผนเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายล่วงหน้าได้อีกด้วย เช่น คุณรู้ว่าทุกวันที่ 21 คุณต้องจ่ายค่าผ่อนแอร์
ฉะนั้น ทันทีที่เงินเดือนออก คุณก็สามารถกันเงินส่วนหนึ่งเตรียมไว้จ่ายค่าผ่อนแอร์ก่อนได้ พอถึงเวลาที่ต้องจ่ายจริงๆ
จะได้ไม่ต้องไปวิ่งหาเงินมาจ่ายให้วุ่นวาย

วันนี้... คุณป้องกันรู้รั่วจากการหลงลืมของคุณบ้างหรือยัง?
        ในแต่ละเดือนคุณอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องบริหารจัดการอยู่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายสำหรับ
ของกินของใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในแต่ละเดือน แต่หากคุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้
ก็จะช่วยประหยัดเงินและทำให้คุณมีเงินเหลือเก็บออมมากขึ้นด้วย
จดรายการสิ่งของที่ต้องซื้อก่อนช้อปปิ้ง
  ก่อนซื้อของ คุณควรจดรายการสินค้าที่ต้องการ และมุ่งตรงไปยังรายการของที่จดมาเท่านั้น   อย่าหลวมตัวซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น เพียงเพราะสินค้านั้นมีโปรโมชั่นใหม่ๆ 

คูปองส่วนลดพิเศษ
  ซุปเปอร์มาร์เก็ตมักแจกคูปองส่วนลดพิเศษ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในโอกาสต่อไป เมื่อคุณได้รับ
  คูปองต่างๆ ควรตรวจดูว่าคูปองหมดอายุเมื่อไหร่ และใช้คูปองส่วนลดนั้นในการซื้อของใช้จำเป็น เช่น ผงซักฟอก   ยาสีฟัน สบู่ ฯลฯ


เปรียบเทียบราคาสินค้ากับปริมาณ
  เพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการในราคาที่ดีที่สุด คุณอาจต้องเปรียบเทียบยี่ห้อและดูปริมาณพราะบางครั้งผู้ผลิตทำแพคเกจ
  ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป แพคเกจที่ดูใหญ่อาจมีปริมาณน้อยกว่ายี่ห้อที่มีแพคเกจเล็กกว่าก็ได้


รู้แหล่งซื้อของถูก 
  การรู้จักแหล่งซื้อของถูกจะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ แม้เล็กน้อย แต่หากรวมกันหลายครั้งเข้าก็เป็นเงินจำนวนมาก
  เลยทีเดียว

ปลูกผักสวนครัวไว้ในบ้านบ้าง 
  การปลูกผักสวนครัวที่ใช้เป็นประจำ เช่น ผักชี กระเพรา โหระพา พริก มะนาว ฯลฯ ไว้ใช้เองบ้าง จะช่วยให้คุณ
  ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ทั้งยังเป็นกิจกรรมยามว่างที่เพลิดเพลินอีกด้วย
        นอกจากนี้ คุณต้องช่วยกันประหยัดค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ภายในบ้าน ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ โดยไม่เปิดน้ำและไฟ
ทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น หรือเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ฯลฯ เมื่อสมาชิกภายในบ้าน
ร่วมมมือร่วมใจกันใช้จ่ายอย่างประหยัดเช่นนี้แล้ว เชื่อได้ว่ารายจ่ายภายในบ้านจะลดลง และช่วยเพิ่มเงินออม
ของครอบครัวได้มากขึ้น
ลองแนะนำเทคนิคช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาดในแบบของคุณมาสัก 5 ข้อ
            คุณรู้หรือไม่... วันไม่ซื้อ หรือ
Buy Nothing Day มีจริงๆ ในโลก!!!
แถมมีมาตั้งแต่ปี 1992 แล้วที่เมืองแวนคูเวอร์
ประเทศแคนาดา โดยมูลนิธิสื่อแอดบัสเตอร์
ของ Kalle Lasn และ Bill Schmalz
อดีตนักโฆษณาที่เกือบจะสิ้นเนื้อประดาตัว
ด้วยการช้อปปิ้ง ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็น
ศิลปินและนักรณรงค์ ซึ่งจุดประสงค์ของเขา
ก็เพื่อเรียกสติให้ผู้คนรู้จักพอ และงดไม่ซื้อบ้าง
อย่างน้อยก็หนึ่งวันในรอบปี

            ส่วนในบ้านเรานั้น การรณรงค์ “ไม่ซื้อ”
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อต้นปี 2551 โดยนักรณรงค์
กลุ่มเล็กๆ ที่เรียกตัวเองว่า “ต้นกล้า” และ
“วีเชงจ์” ภายใต้ชื่อกิจกรรม
 “สัปดาห์ไม่ซื้อ”

คำว่า “ไม่ซื้อ” ไม่ได้หมายความว่าไม่ซื้อ
อะไรเลย แต่ให้รู้จัก “คิดก่อนซื้อ”...
ว่าสิ่งที่ซื้อคืออะไรจำเป็นไหม ใช้แล้วมีผลกระทบ
อะไรทั้งต่อตัวเอง สังคม และสภาพแวดล้อม
ที่สำคัญคือ...
คุณภาพชีวิตจะดีขึ้นเพราะการซื้อจริงหรือ


มาเปลี่ยน “วันช้อปไม่ยั้ง” เป็น “วันยั้งไม่ซื้อ” กันดีกว่า!!!
        หลายคนอาจกำลังมองหาช่วงเวลาที่จะพักผ่อนประจำปี เพื่อเติมพลังให้กับตนเองและพร้อม ที่จะใช้เงินที่
เก็บหอมรอมริบมานานไปกับทริปในฝัน แต่ไม่ว่าจะไปเที่ยวภูเขา เดินป่า ชมทะเล เล่นน้ำตก เดินเล่นในไร่ หรือที่ใดๆ
ก็จำเป็นที่ต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้การเดินทางครั้งนี้เป็นทริปที่ประทับใจ ไม่ทำให้เสียทั้งเงินและเวลา
วางแผนและเก็บเงินล่วงหน้า
   ก่อนตัดสินใจเดินทางไปพักผ่อนที่ใด ควรเลือกสถานที่และกำหนดงบที่ต้องใช้ไว้ล่วงหน้า เพราะหากตอนนี้
   มีเงินไม่พอ คุณจะได้หาทางประหยัดเงินในกระเป๋าได้ทัน


เที่ยววันธรรมดา
  ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการเที่ยวในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ แถมยังมีความสุขในการพักผ่อน
  อย่างแท้จริง ไม่ต้องแย่งกันกิน แย่งกันเที่ยวอีกด้วย

เปรียบเทียบราคาอย่างถี่ถ้วน
   หากคุณจะไปกับบริษัททัวร์ คุณควรเปรียบเทียบราคาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อทัวร์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอ
   ที่ดีทีสุด 


ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวที่จะไป
  วางแผนท่องเที่ยวอย่างรอบคอบ ศึกษาทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่จะไป แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง ร้านอาหารพื้นเมือง
  ที่แนะนำ พร้อมสำรวจเส้นทางให้ครบถ้วน เพื่อให้ใช้เวลาและเงินของคุณได้อย่างคุ้มค่าที่สุด


จัดสรรงบประมาณในการช้อปปิ้ง
  ลิสต์รายชื่อคนที่จะซื้อของไปฝาก และจัดสรรงบประมาณขึ้นมาก้อนหนึ่ง เพื่อบังคับตนเองไม่ให้ใช้จ่ายเกินกว่า
  ที่ควรจะเป็น
คุณมีเงินเก็บไว้เที่ยวหลบลมร้อนครั้งต่อไปแล้วหรือยัง?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขั้นตอนการบวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมะที่วัดสังฆทาน และการลาสิกขา

วิธีลดไขมันรอบเอว ไขมันส่วนเกิน

8 ลักษณะเด่นของผู้หญิงที่กำราบ 'ผู้ชายเจ้าชู้' ได้อยู่หมัด!!