บริหารหนี้...หนีกับดักทางการเงิน

 “ชีวิตที่ปลอดหนี้” เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง การประคับประคองตัวไม่ให้เป็นหนี้ในยุคนี้
   แสนจะลำบากยากเย็น เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนล้วนเจอแต่หนทางสร้างหนี้แบบง่ายๆ ได้รอบด้าน ทั้งตีนสะพานลอย
   บนสถานีรถไฟฟ้า หน้าห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งทางสายโทรศัพท์ หลายคนจึงรู้จักและคุ้นเคยกับหนี้เป็นอย่างดี
   เพราะเดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็พากันกู้ซื้อบ้าน ผ่อนรถ กดเงินสด กู้เงินด่วน หรือรูดบัตรเครดิตกันทั้งนั้น


         หากจะว่ากันไป... “การเป็นหนี้” ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายหรือเป็นเรื่องเสียหายไปซะทั้งหมด และหนี้ก็ไม่ได้มีแต่
่   แง่มุมในด้านลบเท่านั้น หากแต่แง่บวกของหนี้ก็ยังมีเช่นกัน ถ้าเรารู้จักเป็นหนี้ให้ถูกวิธี หนี้ก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือสร้าง
   ความมั่งคั่ง ร่ำรวยให้กับเราได้
            

        หนี้ในโลกนี้จึงมีทั้ง “หนี้ดี” และ “หนี้ไม่ดี” ซึ่งกุญแจสำคัญในการแยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดี
 ออกจากกัน ก็คือ “วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้”
 และ “ผลลัพธ์ที่เกิดจากการก่อหนี้”
 ของบุคคลนั้น


            แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า... ภาระหนี้
 ในปัจจุบันของเรานั้น เป็น 
“หนี้ดี” หรือ
 
“หนี้ไม่ดี” 

 คำตอบง่ายๆ หมั่นท่องจำไว้ว่า...
         สิ่งที่จะเรียกว่าเป็น “หนี้ดี” ได้นั้น จะต้องทำให้เรามั่งคั่งขึ้น กล่าวคือมีรายได้ หรือ ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ
   ต้องไม่กระทบต่อสภาพคล่องในการดำรงชีวิตประจำวัน หากตกเรื่องความมั่งคั่ง หรือสภาพคล่องข้อใดข้อหนึ่งไป   
   จะถือว่าหนี้นั้นเป็น “หนี้ไม่ดี” ทันท
         ตัวอย่างเช่น
         นายเอกกู้เงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง แม้ว่านายเอกจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านเป็นประจำทุกเดือน แต่นายเอก
   ก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการค่อยๆ สะสมความเป็นเจ้าของ (เงินต้นที่ไปหักหนี้ออกทุกเดือน) รวมไปถึงมูลค่าบ้านและ
   ที่ดินที่สูงขึ้นตามเวลา อย่างนี้ถือว่าการซื้อบ้านสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับนายเอกได้
         คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่า... จำนวนเงินผ่อนรายเดือนทำให้นายเอกมีปัญหาสภาพคล่องหรือเปล่า? ถ้าซื้อบ้านแล้วไม่มี
   ปัญหาสภาพคล่อง ก็จะว่าถือว่าบ้านหลังนี้เป็นหนี้ดี แต่ถ้าส่งบ้านแล้วทำให้เงินไม่พอใช้ อย่างนี้ก็ถือเป็นหนี้ไม่ดี

         หรือหาก น.ส.บีม กู้เงินมาเรียนต่อปริญญาโท ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาต่อทำให้คนเรามีวิชาความรู้เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้ม
   ที่จะทำให้มั่งคั่งได้ในอนาคต ดังนั้น การจะพิจารณาว่าการกู้ยืมเพื่อการศึกษาสร้างหนี้ดีหรือไม่ดี ก็ให้ดูที่ความสามารถ
   ในการผ่อนชำระคืนเช่นกัน
         สุดท้ายเป็นตัวอย่างสุดคลาสสิค นั่นคือ การกู้เงินซื้อรถยนต์ หากพิจารณาจากเกณฑ์ความมั่งคั่งจะพบว่า...
   การซื้อรถยนต์นั้น จัดเป็นหนี้ไม่ดีทันที เพราะภายหลังจากเราถอยรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นท์ ไม่มีทางเลยที่มูลค่ารถยนต์
   ของเราจะเพิ่มขึ้น มีแต่เสื่อมลงเรื่อยๆ
         แต่สำหรับกรณีของรถยนต์นั้น อาจต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด เพราะแม้ว่ามูลค่าของรถจะไม่มีทางเพิ่มขึ้น
   แต่หากการซื้อรถทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเราลดลง (ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระ ค่าน้ำมัน และค่าดูแลรักษา
   น้อยกว่า ค่าเดินทางที่ต้องจ่ายอยู่เดิม) หรือหากการมีรถยนต์ทำให้เราสามารถรับงานพิเศษที่สร้างรายได้ให้มากขึ้นได้
   เพียงพอที่จะจัดการกับค่าใช้จ่าย และทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น อย่างนี้การซื้อรถยนต์ก็สามารถสร้างความมั่งคั่ง
   ให้เราได้เช่นกัน

         จะเห็นว่าแนวคิดเรื่อง “หนี้ดี” และ “หนี้ไม่ดี” ค่อนข้างต้องอาศัยการไตร่ตรองที่ลึกซึ้งมากกว่าที่จะใช้เกณฑ์ใดๆ
   ตัดสินตายตัว เพราะท้ายที่สุดแล้ว... เชื่อว่าคงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับปัญหาทางการเงิน มีเพียงคำตอบที่
   เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละบุคคลเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องสามารถพินิจพิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางการเงินของเรา
   ได้เอง และแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ นั่นต่างหากคือหนทางที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาทางการเงินได้

         ทางที่ดี... ถ้ายังไม่เป็นหนี้ ก็อย่าพยายามสร้างหนี้ แต่เมื่อหลวมตัวเป็นหนี้ไปแล้ว ก็พยายามควบคุมหนี้ทุกประเภท   
   อย่าให้เกิน 50% ของรายได้ อย่าลืมว่าในแต่ละเดือนคุณยังต้องกินต้องใช้ หากสร้างหนี้กองพะเนินเอาไว้แล้ว   
   คุณจะเอาเงินที่ไหนใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิต
         โดยสรุป “การมีหนี้” ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้คนเราไม่ร่ำรวย เพราะในโลกนี้มีทั้งหนี้ที่สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต
   ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสุขภาพทางการเงิน (หนี้ดี) และหนี้ที่ไม่สร้างสรรค์ แถมบั่นทอนสุขภาพทางการเงิน (หนี้ไม่ดี)
   แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า... เราเลือกสร้างหนี้ประเภทไหนให้กับชีวิตของเราต่างหาก
         มาถึงตรงนี้... ลองสำรวจตัวเองดูสักนิดว่าตอนนี้คุณมีหนี้อยู่หรือไม่? “ถ้ามี” จัดเป็นหนี้ประเภทใดมากกว่ากัน
   ระหว่างหนี้ดีกับหนี้ไม่ดี ถ้าคำตอบ คือ ไม่มีหนี้หรือมีแต่หนี้ดี ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย และทำนายได้เลยว่า
   คุณมีสิทธิที่จะมั่งคั่งได้ในอนาคต แต่ถ้าคุณมีหนี้และเป็นหนี้ไม่ดีด้วยละก็ บอกไว้เลยว่า “ความมั่งคั่ง” กับชีวิตของคุณ
   ยังคงเป็นเพียงเส้นขนาน
 
             “กู้วันนี้... ดอกเบี้ย 0% นาน 15 เดือน” หรือ “ไม่มีเงินสด รถคุณช่วยได้” สารพัดสารพันสิ่งล่อใจที่พร้อมจะดึงให้คุณก้าวสู่วงจรแห่งหนี้ มารู้ตัวอีกทีก็หลวมตัวกู้ไปเสียแล้ว หากไม่อยากให้หนี้ี้สร้างปัญหาให้คุณในอนาคต ลองหยุดคิดและใช้ Checklist ถามตัวเองก่อนก่อหนี้ ดังนี้

คำถามที่หยุดคิด
A
B
 เรากำลังเป็นหนี้เพราะความจำเป็น (Need) หรือความต้องการ (Want)
จำเป็น
ต้องการ
 เราจะมีเงินเพียงพอผ่อนชำระหนี้ไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่
ใช่
ไม่แน่ใจ
 ยอดเงินผ่อนหนี้จะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราหรือไม่
ไม่มี
ไม่แน่ใจ
 ดอกเบี้ยต่องวดและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่ายคุ้มค่ากับการเป็นหนี้หรือไม่
ใช่
ไม่แน่ใจ
 ถ้าไม่เป็นหนี้วันนี้... เดือนหน้าเราจะเดือดร้อนหรือไม่
ใช่
ไม่
 มีทางเลือกที่ดีกว่านี้จากเจ้าหนี้รายอื่นหรือหนี้ประเภทอื่นหรือไม่
ไม่มี
ไม่แน่ใจ
 มีทางเลือกอื่นๆ นอกจากการเป็นหนี้ใช่หรือไม่
ไม่มี
ไม่แน่ใจ

             ถ้าคำตอบของใครเป็นข้อ A ทั้งหมด แสดงว่าการก่อหนี้ครั้งนี้... มีเหตุผลมากเพียงพอ และไม่น่าจะมี ปัญหาทางการเงินในอนาคต

คุณกำลังจะก่อหนี้โดยไม่จำเป็นหรือเปล่า? ลองใช้ Checklist ดูหรือยัง?
             รู้หรือไม่... วิธีคิดดอกเบี้ยที่ต่างกัน จะทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแตกต่างกันด้วย หลายคนจำต้องจ่าย
ดอกเบี้ยบานตะไท เพียงเพราะไม่รู้ว่าเจ้าหนี้มีวิธีคิดดอกเบี้ยอย่างไร ตัวอย่างข้างล่างนี้คงพอทำให้คุณเข้าใจ
วิธีคิดดอกเบี้ยมากขึ้น
             เพราะต้องการความสะดวก นายสะดวกจึงใช้บริการเงินผ่อนของร้านผู้ขาย ซึ่งคิด “ดอกเบี้ยแบบคงที่”คือคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งก้อน 200,000 บาท ส่วนนายสบายยอมเสียเวลาไปหาเงินกู้ที่คิด “ดอกเบี้ยแบบ
ลดต้นลดดอก
” ทำให้ผ่อนน้อยกว่าและจ่ายดอกเบี้ยน้อยกว่านายสะดวกถึง 32,868 บาท
คุณชอบแบบซื้อสะดวกวันนี้หรือผ่อนสบายวันหน้า?
             ในยุคที่ “หนี้” กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่ “การมีหนี้” จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรง
อีกต่อไปหากรู้จักควบคุมหนี้ให้พอเหมาะพอดี เพราะ “หนี้” ไม่ต่างอะไรกับไขมันในเส้นเลือด หากปล่อยให้มี
มากเกินไป ย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ทางการเงิน) ของตัวคุณเอง
            ลองมาดูกันว่า... ในแต่ละเดือน เราควรชำระหนี้ประมาณเท่าไหร่จะได้ไม่เป็นภาระมากจนเกินไป

 หนี้บัตรเครดิต
    พยายามควบคุมการรูดบัตรและการชำระหนี้อื่นๆ อย่างสินเชื่อส่วนบุคคลหรือผ่อนสินค้า ไม่ให้เกิน 10% - 20%
    ของรายได้ 


 หนี้ผ่อนบ้าน
    ค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ แต่ถ้าคุณไม่มีภาระหนี้สินอื่นๆ ก็สามารถ
    เพิ่มเป็น 50% ได้ เพราะยิ่งคุณผ่อนมากเท่าไหร่ หนี้ก็ยิ่งหมดเร็วเท่านั้น


 หนี้ผ่อนรถ
    จำนวนเงินที่ใช้ผ่อนรถในแต่ละเดือน ควรอยู่ราวๆ 20% ของรายได้ หากมากกว่านี้อาจหนักเกินไป
 หนี้สินรวม
    ไม่ว่าคุณจะกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สายพันธุ์ไหนก็ตาม ไม่ควรให้เงินที่ต้องจ่ายหนี้ทั้งหมด
    เกินกว่า 50% ของรายได
ในแต่ละเดือนคุณชำระหนี้สินทั้งหมดเท่าไหร่? มากกว่า 50% หรือเปล่า?
             ทุกวันนี้... ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ล้วนเจอแต่คนเป็นหนี้รอบด้าน ทั้งๆ ที่รู้ว่าหนี้เป็นสิ่งที่ “สร้างง่าย
แต่กำจัดยาก”
 แต่คนส่วนใหญ่เมื่อหลังชนฝา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ก็พร้อมใจกันหันไปหาบรรดาเงินกู้
หลากหลายสายพันธุ์ จะหนี้ในระบบก็ดีหรือจะหนี้นอกระบบก็ได้
แล้ว “หนี้ในระบบ” กับ “หนี้นอกระบบ” แตกต่างกันอย่างไร?

ถ้าจำเป็นต้องกู้ คุณจะกู้แบบไหน... ในหรือนอกระบบ?
“ไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ เพราะติดแบล็กลิสต์จากเครดิตบูโร”
             หลายคนคงคุ้นหูกับคำพูดนี้... ทั้งที่จริงแล้ว
เครดิตบูโรไม่ได้เป็นผู้จัดแบล็กลิสต์ของลูกหนี้ แต่จะ
ทำหน้าที่รวบรวมประวัติการขอและการชำระหนี้ของ
ลูกหนี้ตามข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นใด
 หากลูกหนี้มีประวัติ
การชำระเงินดี จ่ายเงินตรงเวลา ก็จะสร้างความเชื่อมั่น
ให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้เร็วยิ่งขึ้น
แต่จะอนุมัติหรือไม่นั้น สถาบันการเงินจะพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่น รายได้ หลักประกัน ผู้ค้ำประกัน

             ส่วน “แบล็กลิสต์หรือบัญชีดำ” เป็นเรื่องของแต่ละสถาบันการเงิน เช่น เคยกู้เงินธนาคาร
ABC แล้วไม่จ่ายหนี้หรือจ่ายล่าช้าเป็นประจำ
อย่างนี้แหละ... ที่เป็นแบล็กลิสต์ของธนาคาร ABC
ซึ่งสถาบันการเงินอื่นๆ จะเห็นว่าคุณมีหนี้ของธนาคาร ABC ที่ยังค้างชำระอยู่จากข้อมูลของเครดิตบูโร
เมื่อชำระหนี้หมด ก็ไม่มีแบล็กลิสต์ของธนาคาร ABC แล้ว แต่ประวัติที่เคยผิดนัดชำระหนี้ธนาคาร ABC จะติดแน่น
คงอยู่ในเครดิตบูโรไปอีก 3 ปี หลังพ้น 3 ปีไปแล้ว
คุณจึงจะสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ขาวสะอาด (ปราศจากประวัติผิดนัดชำระหนี้) ได้เหมือนคนทั่วไป
             ทางที่ดี... คุณควรชำระหนี้ให้ครบถ้วนและตรงเวลาทุกครั้ง เพราะ “เครดิต” เปรียบเหมือน “ความดี”
คือ “สร้างไม่ง่าย แต่ถูกทำลายไม่ยาก” หมั่นดูแลรักษาเครดิตของคุณให้เหมือนกับการรักษาความดี
แล้วชีวิตทางการเงินของคุณจะมีความสุขขึ้นอีกเยอะเลย
“เครดิตบูโร” กับ “แบล็กลิสต์” อะไรน่ากลัวว่ากัน?

http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1560&Itemid=1433

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขั้นตอนการบวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมะที่วัดสังฆทาน และการลาสิกขา

วิธีลดไขมันรอบเอว ไขมันส่วนเกิน

8 ลักษณะเด่นของผู้หญิงที่กำราบ 'ผู้ชายเจ้าชู้' ได้อยู่หมัด!!